------------------------------------
สารคดี ประจำเดือน กรกฎาคม 2023 ฉบับ ภาษาไทย
Documentary | 5 minutes read
------------------------------------
Macro Photography เป็นประเภทหนึ่งของการถ่ายภาพ ซึ่งแสดงภาพของวัตถุในระยะใกล้มาก ๆ มักถ่ายกับวัตถุขนาดเล็ก แมลง ดอกไม้ หรือที่เราถ่ายบ่อย ๆ อย่างผีเสื้อ โดยคำว่าระยะที่ใกล้กว่านั้นเป็นการเทียบกับเลนส์มาตรฐาน (ตามทฤษฎี คือ เลนส์ 50mm มีระยะใกล้เคียงสายตามนุษย์มากที่สุด) ทำให้เราเห็นรายละเอียดวัตถุนั้นได้มากขึ้น หรือจะถ่ายมาโครวัตถุใหญ่ ๆ ก็ได้ ถ่ายช้างเงี้ยได้ แต่ภาพที่ได้ต้องเป็นภาพระดับผิวหนัง หรือ close-up ไปยังอวัยวะต่าง ๆ ส่วนสาเหตุที่นิยมสัตว์ หรือของจิ๋ว ๆ คงเป็นเพราะ ไม่ค่อยมีคนปกติที่ไหนไปยืนจ้องลูกตา ปีก ขน รายละเอียดอะไรของมัน มันอาจจะเล็ก เคลื่อนที่เร็ว อะไรก็ตาม วัตถุจิ๋วทั้งหลายมักให้ผลลัพธ์ที่น่าสนใจกว่า ในทางกลับกัน การถ่ายภาพขนาดเล็ก จะเรียก Micro Photography เป็นการถ่ายภาพวัตถุที่มีขนาดเล็กมาก ๆ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ซึ่งต้องใช้กำลังขยายสูง
อ่าว ต่างยังไง สุดท้ายก็ได้ภาพของวัตถุที่ใกล้ขึ้นเหมือนกัน
ใช่ ทั้ง Macro และ Micro ให้ระยะใกล้เหมือนกัน แต่ ให้ในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน เลนส์ Macro เป็นเลนส์ที่มีอัตราส่วนขนาดวัตถุที่แท้จริงต่อขนาดภาพที่ฉายบนฟิล์ม หรือบนชิปดิจิทัล 1:1
for example, ถ่ายภาพสี่เหลี่ยมจัตุรัส ที่มีขนาดจริง 10mm อัตราส่วน 1:1 ของเลนส์มาโครที่แท้จริงก็จะให้ภาพสี่เหลี่ยมจัตุรัสนั้นลงบนฟิล์ม หรือลงบนชิป เป็นภาพที่มีขนาด 10mm คือ หนึ่งต่อหนึ่งเท่ากัน ซึ่งเราสามารถขยายภาพจัตุรัสนั้นได้ภายหลังตามชอบจุย แต่เลนส์ Micro จะให้ภาพของวัตถุที่ใหญ่กว่าขนาดวัตถุจริงเป็นหลายเท่า (ไม่ใช่ 1:1 แล้ว) อาจจะ 2X (2:1), 10X (10:1), 40X (40:1), 200X (200:1) หรือล้านเท่าก็ย่อมได้ และ technically เลนส์ Micro ไม่ใช้ในกล้องถ่ายภาพทั่วไป แต่จะใช้ในกล้องจุลทรรศน์เท่านั้น
การถ่ายมาโครจึง ไม่ใช่ การถ่ายวัตถุขนาดใหญ่ตามชื่อของมัน
อนุสัญญา ว่าด้วย การปราศจากความคาดหวัง
และ การได้มาซึ่งผลลัพธ์ แห่ง การถ่ายภาพมาโคร
เป็นสัญญาในใจที่สร้างขึ้นเอง เวลาตัน ๆ คิดอะไรไม่ออก หรือ
บางวันฝนตกมากไป แดดน้อยไป ลมแรงเกินไป ทะเลาะกับหมาแมวที่บ้าน ไม่มีอะไรได้ดั่งใจ ก็ต้องมีชุดความคิดไว้ยึดเหนี่ยว
อนุสัญญานี้ไม่มีใครเป็นภาคี มีมือกับสมองเรานี่แหละ ถ้าการกระทำกับความคิดทำงานร่วมกันอย่าง effectively & rationally
ผลลัพธ์ที่เราต้องการจะตามมาเอง เราเชื่ออย่างนั้น
Article 1 เข้าใจธรรมชาติของวัตถุ
คุณจะถ่ายสิ่งสิ่งนึง คุณเข้าใจ nature มันแค่ไหน จริงอยู่ สิ่งไม่มีชีวิตทำให้คุณไม่ต้องเคลื่อนที่มากเท่าไหร่นัก และคุณก็ไม่ต้องใจเย็นกับมัน เพราะมันอยู่แบบไหนก็แบบนั้น แต่ถ้าเป็นสิ่งมีชีวิต มันตรงข้ามนะ จะมาคาดหวังให้เค้าหยุดนิ่งให้ซักสามวิ ขอให้เขยิบมาตรงนี้หน่อย ถามว่าเค้าอ่านใจคุณรู้เรื่องมั้ย ไม่ บอกเลยยิ่งคาดหวังอะไร สิ่งนั้นจะยิ่งหนี ยิ่งไม่เป็นตามใจต้องการ คุณต้องใจเย็น ถ้าวันนี้ถ่ายไม่ได้ โอกาสหน้าก็มาลองอีกครั้ง ไม่ต้องหงุดหงิด กำหมัด อยากบีบขยี้ให้แหลก ต้องเข้าใจนิสัยและพฤติกรรมเค้า หากมีเวลาก็ควรศึกษาเรื่องเหล่านี้มาก่อนที่จะเก็บภาพ เพราะถ้าเค้าบอกให้คุณเลิกถ่ายตอนเค้าทำธุระส่วนตัวได้ เค้าคงบอกเหมือนกันแหละว่า อย่ามายู่งงง
Article 2 ไม่มองข้ามสิ่งใกล้ตัว
เคยเห็นดวงตามนุษย์แบบ close-up ไหม นี่เห็นกี่รอบก็เหวออ ม่านตา (iris) ของหมานุดมันบรึ้ย ๆ หยัก ๆ แบบนี้ ทั้ง ๆ ที่ไอ่พวกนี้มันก็อยู่บนร่างกายเรานะ แต่ไม่คิดจะดูจะส่องเลยอะ หรืออย่าง ละอองฝน น้ำมันแยกชั้นกับน้ำ ลายนิ้วมือ เนื้อผลไม้บางชนิด (ลองแบบเนื้อ juicy ดู แล้วจะอึ้ง!) โต๊ะไม้ที่ผุ ปลวกอีท ได้โปรดอย่ามองข้าม
งั้นก่อนจะไปถ่ายเกล็ดงูอนาคอนดา ฟันวาฬ ลองของใกล้ตัวพวกนี้ก่อน
ใครจะไปรู้ โลกจิ๋วในนั้นอาจมีมุมมองอะไรแปลก ๆ ก็ได้
*คำแนะนำ* Article 3 งบประมาณ และ ความต้องการ
รองจากสายล่าทางช้างเผือก พรานดาราศาสตร์ ดูเหมือนว่าสายมาโครจะเป็นนัก DIY อุปกรณ์กันเก่งสุด ๆ ที่เห็นได้ชัดคือ flash diffuser ที่เค้า ๆ ชอบเอามาทำเอง ช่วยในการกระจายแสงให้นู่มละมุนลิ้นมากขึ้น ได้แสงที่กว้างขึ้นแล้วแต่การประดิษฐ์ของแต่ละคน หรือวิธี reverse lens macro ตรงตัวเลย กลับด้านเลนส์ถ่าย เทคนิค และอุปกรณ์ในวงการนี้มีเยอะแยะมากค่ะ ถ้าไม่ระวังให้ดีก็หมดตู่ดได้ ฉะนั้น อะไรที่มันสร้างแค่ slight difference เราจะไม่ซื้อ ไม่ทำ ไม่ใช้ ไม่พิสดาร modify มัน ถ้าศึกษาในวิธีการ หรือสิ่งของนั้น ๆ แล้วมันอาจไปสร้างความเสียหายต่อตัวกล้อง หรือกระเป๋าตังค์เกินไป เราเลือกที่จะอยู่เฉย ๆ ค่ะ ไม่มีก็หาวิธีอื่น หาไม่ได้จริง ๆ ก็เก็บเงินซื้อเลนส์ระยะนั้น หรือ ของสิ่งนั้นที่มีประสิทธิภาพจริง ๆ ไปเลย ไม่อยากบานปลายก็ต้องวางแผน รู้จุดประสงค์ตัวเองว่าทำไมต้องการมัน จะอยู่กับมันนานแค่ไหน ซื้อแล้วเกิดอยากปล่อยออกมันจะคุ้มมั้ย ต้องคิดเผื่อ คือถ้าเล่นไปเรื่อย จับหูจับหางไม่ได้ สุดท้ายก็เป็นแค่ของที่วางให้ฝุ่นเกาะ
ตั้งเป้าหมาย ขอบเขตการใช้งาน งบประมาณของตัวเอง
หลังจากนี้ จะเอารูปที่ได้ไปหาข้อมูลไปต่อยอดค้นหาอะไรเพิ่ม หรือจะเอามานอนดูโง่ ๆ สุดแล้วแต่ความสนใจของแกเลย
เหมือนที่เราถ่ายแมลงวันตอมอุนจิหมาที่บ้าน
พอเอาไปค้นก็ทำให้รู้ว่าพวกมันเป็นนักสืบ xD